ตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ในปีคริสต์ศักราช 1945 ฝ่ายสัมพันธมิตรฝั่งยุโรปได้นำ ผู้ที่กระทำความผิดอย่างร้ายแรง หนึ่งในนั้นคือ แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวเยอรมันที่ทำ
การทดลองผู้ต้องขังในค่ายกักกัน จนทำให้มีคนบาดเจ็บ เสียชีวิตจำนวนมาก ถือว่าเป็นเหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิศรีความเป็นมนุษย์อย่างที่สุด เนื่องจากเป็นการทดลองทางการแพทย์กับนักโทษโดยไม่ได้ขอความยินยอมแต่อย่างใด ด้วยการให้ยุงกัดบ้างซึ่งมีนักโทษจำนวนมากที่ถูกทดลองกับการรักษาไข้มาลาเลีย หรือการโยนลงในถังน้ำแข็งบ้าง การฉีดยาต่างๆ โดยไม่สมัครใจ มีการทดลองผ่าตัด การทดลองแก๊สมัสตาร์ด รวมถึงการทดลองทางการแพทย์อื่นๆ ซึ่งสร้างความทรมาณให้แก่ผู้ที่ถูกทดลองอย่างมาก กระบวนการพิจารณาคดีในครั้งนั้นได้นำผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่ศาลทหารระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นมาพิเศษ ในเมือง
นูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ที่เรียกว่า การพิจารณาคดีนูเรมเบิร์ก (Nuremberg trials) ทำให้ในเวลาต่อมานำไป
สู่การร่างประมวลกฎหมายนูเรมเบิร์ก หรือ Nuremberg Code (1947) เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตัดสินคดี
ทางแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ กฎนูเรมเบิร์กจึงถือว่าเป็นหลักการสากลทางจริยธรรมที่ได้รับการยอมรับเป็น
ครั้งแรก
จากนั้นจึงเริ่มมีการกำหนดจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวกับคนให้มีความชัดเจนมากขึ้น ได้แก่ Declaration of Helsinki (1964) ถูกกำหนดโดยสมัชชาของแพทย์สมาคมโลก หรือ The Belmont report (1979) นำเสนอโดยคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการคุ้มครองอาสาสมัครในการวิจัยทางชีวเวชศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกา(The National Commission for the Protection of Human Subjects of Biomedical and Behavioral Research) ถือได้ว่าเป็นหลักการที่มีการใช้อย่างแพร่หลายอย่างมาก เนื่องจากเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการกำหนดหลักการพื้นฐานด้านจริยธรรมการวิจัยในคน ประกอบไปด้วย หลักความเคารพในบุคคล หลักผลประโยชน์ และหลักความยุติธรรม รวมถึง CIOMS Guideline (1993) เป็นแนวทางการวิจัยในคนทางชีวเวชศาสตร์ซึ่งต่อมามีการปรับปรุงอยู่หลายครั้งล่าสุดปีคริสต์ศักราช 2016 มีการปรับปรุงและเพิ่มหลักจริยธรรมการวิจัยลงไปมากขึ้นและครอบคลุมมากขึ้น ยังไม่รวมขององค์การระหว่างประเทศ เช่น WHO และ UNESCO ที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ไม่น้อยไปกว่าองค์การต่างๆ แสดงให้เห็นว่าเรื่องจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์นั้น เป็นหลักการสากลที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ การทำงานวิจัยที่เกี่ยวกับคนจึงต้องปฏิบัติตามหลักการต่างๆ ที่ได้มีการกำหนดไว้ จึงทำให้รายงานวิจัยนั้นได้รับการยอมรับบ
เห็นได้ว่า จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เป็นหลักการมาตรฐานโลกที่มีมาอย่างช้านาน ถูกพัฒนามาจากการวิจัยทางการแพทย์หรือทางสาธารณสุข จนมีอิทธิพลเข้ามาเติมเต็มการวิจัยทางสังคมศาสตร์ให้คำนึงถึงหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย แม้มีการให้ความสำคัญกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มากขึ้นจน ก.พ.อ.กำหนดให้ผู้ขอตำแหน่งวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัย งานวิจัยที่ยื่นให้พิจารณานั้นจะต้องผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จึงจะสามารถยื่นขอตำแหน่งได้ ทำให้มีความเข้มข้นและเข้มงวดมากขึ้น ยังไม่นับรวมวารสารระดับนานาชาติจำนวนมากกำหนดว่าบทความที่จะส่งให้พิจารณาเพื่อตีพิมพ์ ต้องผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ก่อน และหลายวารสารก็ปฏิเสธการให้ตีพิมพ์หากไม่ได้มีเลขบงชี้ว่าผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยแล้ว นอกจากนี้ในการทำวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ บางครั้งอาจมีการทำงานวิจัยที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทำให้เป็นการละเมิดผู้เข้าร่วมการวิจัยหรืออาสาสมัครที่ร่วมการวิจัยอย่างไม่มีเจตนา
ด้วยเหตุนี้ การวิจัยในปัจจุบันหากต้องการให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลไม่ใช่เพียงแค่ผลการวิจัยได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางวิชาการหรือก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมเท่านั้น แต่การวิจัยนั้นจะต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Institutional Review Board: IRB) โดยผู้วิจัยต้องส่งโครงการวิจัยเพื่อการพิจารณาทางจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Protocol Synopsis for Ethical Review) ให้คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ทำการพิจารณา และทำการรับรองการจริยธรรมการวิจัย จึงสามารถดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ และระหว่างการทำวิจัยจนถึงทำการวิจัยเสร็จสิ้นก็ต้องมีการรายงานต่อคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่ผู้วิจัยได้ยื่นของการรับรองจึงถือว่าทำถูกต้องตามหลักเกณฑ์มาตรฐานจริยธรรมการวิจัย อย่างไรก็ตามในเมื่อมีการนำหลักจริยธรรมการวิจัยไปสู่การปฏิบัติในทางสังคมศาสตร์อาจมีปัญหา อุปสรรคบางประการ การเปิดพื้นที่ให้นักสังคมศาสตร์เข้ามาอบรมน่าที่จะช่วยเป็นเสียงสะท้อนให้มีการปรับการนำหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาใช้ในทางสังคมศาสตร์มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น
สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว การเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักสังคมศาสตร์มากยิ่งขึ้น ในการที่จะทำให้มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการนำหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ไปประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อให้การทำงานวิจัยนั้นมีคุณค่าและเป็นไปตามมาตรฐานสากลยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรให้มีการอบรมเรื่อง “การอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ 1/2565” ขึ้น และหลังจากที่ได้มีการอบรมรุ่นที่ผ่านมาพบว่า ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และยังมีผู้ประสงค์จะอบรมหลักสูตรดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย จึงเห็นควรให้มีการจัดการอบรมอีกครั้ง โดยเปลี่ยนเป็น การอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ทางสังคมศาสตร์ รุ่นที่ 2
1) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ให้มีการนำมาใช้อย่างถูกต้องในการวิจัย
ทางสังคมศาสตร์มากยิ่งขึ้น
2) เพื่อให้การทำวิจัยทางสังคมศาสตร์คำนึงถึงหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และมีการประยุกต์ใช้ใน
การออกแบบการวิจัย
3) เพื่อให้มีการนำหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาใช้ประโยชน์ในการเรียน การสอน การทำการวิจัย
ทางสังคมศาสตร์
4) เพื่อฟังเสียงสะท้อนของนักสังคมศาสตร์ที่มีการนำหลักจริยธรรมการวิจัยไปปฏิบัติให้มีการปรับใช้
หลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์อย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับบริบททางสังคมศาสตร์ยิ่งขึ้น
5) เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มีวุฒิบัตรเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการยื่นขอ
การรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยวุฒิบัตรมีอายุ 2 ปี หลังจากการอบรม
ผู้ผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ทางสังคมศาสตร์ คาดว่าจะได้รับประโยชน์ ดังนี้
1) มีความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์กับการประยุกต์ทางด้านสังคมศาสตร์
2) มีความรู้ ความเข้าใจกระบวนการวิจัยในบุคคลและกลุ่มเปราะบาง การรักษาความลับของอาสาสมัครและการป้องกันอาสาสมัคร การประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ในของงานวิจัยและอาสาสมัคร
3) มีความรู้ ความเข้าใจ กระบวนการและเกณฑ์การขอความยินยอมจากอาสาสมัคร ข้อควรปฏิบัติของนักวิจัยหลังผ่านการรับรองจริยธรรม และกระบวนการขอการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
4) สามารถประยุกต์ใช้หลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น
ผู้ผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มีวุฒิบัตรเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการยื่นขอการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยวุฒิบัตรมีอายุ 2 ปี ภายหลังจากการอบรม
1. ผู้สนใจทั่วไป ที่มีความสนใจในเรื่องจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ทางด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรม
ศาสตร์
2. การบรรยายจะใช้ภาษาทั่วไป จึงไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
มาก่อน
3. สามารถเข้าร่วมการสัมมนาได้ต่อเนื่องจำนวน 1 วัน
4. ต้องชำระค่าลงทะเบียนก่อนวันอบรม
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แพทย์หญิง จันทรา กาบวัง เหล่าถาวร
ประธานมูลนิธิ SIDCER-FERCAP
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วนาวัลย์ ดาตี๋
ประธานคณะกรรมการจริยธรรมในมนุษย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
คุณวิชิต ทองประเสริฐ
กรรมการจริยธรรมในมนุษย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
วัน/เวลา | รายละเอียด |
---|---|
วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2566 | |
8.30 - 9.00 น. | ลงทะเบียน |
9.00 – 9.15 น. | พิธีเปิดการอบรมโดยศาสตราจารย์ ดร.อัมพร ธำรงลักษณ์ นายกสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย |
9.15-9.30 น. | แนะนำหลักสูตร โดย คุณวิชิต ทองประเสริฐ กรรมการจริยธรรมในมนุษย์ มหาวิทยาลัยมหามกฎราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ |
09.30-12.30 น. | จริยธรรมการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์, การวิจัยในกลุ่มเปราะบาง, การรักษาความลับ, การประเมินคุณประโยชน์และความเสี่ยง โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วนาวัลย์ ดาตี๋ ประธานคณะกรรมการจริยธรรมในมนุษย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
12.30-13.00 น. | พักรับประทานอาหาร |
13.00-14.00 น. | วิวัฒนาการของจริยธรรมการวิจัย หลักจริยธรรมการวิจัยพื้นฐาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดย คุณวิชิต ทองประเสริฐ |
14.00-16.00 น. | กระบวนการขอความยินยอม หน้าที่ความรับผิดชอบของนักวิจัยทั้งก่อนและหลังได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัย ฯ และผลประโยชน์ทับซ้อน
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แพทย์หญิง จันทรา กาบวัง เหล่าถาวร |
16.00-16.45 น. | สรุปสาระสำคัญของการอบรมและทำแบบทดสอบผ่านระบบออนไลน์ โดย คุณวิชิต ทองประเสริฐ |
16.45-17.00 น. | พิธีปิดการอบรม โดย ศาสตราจารย์ ดร.อัมพร ธำรงลักษณ์ นายกสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย |
หมายเหตุ | กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ผู้เข้ารับการอบรมจะได้วุฒิบัตร เมื่อทำการทดสอบหลังการอบรมและได้คะแนนผ่านตาม เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด โดยต้องคะแนนหลังการทำแบบทดสอบร้อยละ 80 หรือ 16 ข้อจากทั้งหมด 20 ข้อจึงจะมีสิทธิ์ได้ใบประกาศหรือวุฒิบัตร |
ระบบออนไลน์
100 คนขึ้นไป
500 บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน)
1.กรุณาชำระเงินโดยการโอนเงินผ่าน บัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์
ชื่อบัญชี บริจาคเพื่อสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์ โดยนายบริบูรณ์ ฉลอง เลขที่บัญชี 678-2-91258-9
2.เมื่อชำระเงินแล้ว ลงทะเบียนและส่งหลักฐานการชำระเงินในระบบ
📰 ขณะนี้มีผู้สนใจสมัครเข้ารับการอบรมแล้ว เป็นจำนวนมาก
ทางสมาคมฯ จึงขยายเวลารับสมัครไปจนถีงวันสุดท้าย วันที่ 1 ธันวาคม 2566
โปรดลงทะเบียน...ด่วน
ลงทะเบียนและส่งหลักฐานการชำระเงิน
ส่งหลักฐานการชำระเงินของท่าน พร้อมข้อมูล ชื่อ-สกุล เบอร์โทร. และ Email Address ไปที่...
dr.pichate.p@gmail.com
ท่านที่ลงทะเบียนในวันที่ 3 ตุลาคม 2566 จำนวน 5 ท่าน โปรดกรุณาติดต่อผู้ดูแลหลักสูตร เนื่องจากระบบลงทะเบียนในวันดังกล่าว มี Error
เก็บแต่หลักฐาน
การชำระเงิน ไม่ได้เก็บข้อมูล Email และ เบอร์โทร. ของท่าน
กรณีต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ดร.พิเชษฐ พิณทอง
ผู้ช่วยเลขาธิการสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
Email : dr.pichate.p@gmail.com
เบอร์มือถือ 097-447-5545
สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
Email : thaipaat@gmail.com
เบอร์มือถือ 062-842-4456