Page 15 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 15

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                    สําหรับการวิจัยเชิงคุณภาพในประเทศไทยซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้วิธีการวิจัยแบบที่ไม่ได้กําหนดยุทธศาสตร์

                    การวิจัยเชิงคุณภาพแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ  อย่างไรก็ตามกระบวนการที่ยาก มักอยู่ที่ขั้นตอนการย่อและ
                    การลงรหัส ดังนั้นในบทความนี้จะได้นําวิธีการวิเคราะห์นี้ มาทําการปรับปรุงเพื่อนําใช้งานในโครงการวิจัยเชิง

                    คุณภาพในประเทศไทยต่อไป


                           การวิเคราะห์เนื้อหาแบบกําหนดทิศทางล่วงหน้า (Directed content analysis) การวิเคราะห์
                    เนื้อหาแบบนี้เป็นวิธีการที่สวนทางกับการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมซึ่งกําหนดรหัส หัวข้อเรื่องรอง หัวข้อ
                    เรื่องย่อย และหัวข้อเรื่องหลักจากเนื้อหาของข้อมูลที่เป็นข้อความที่นํามาทําการวิเคราะห์ เช่น จากการถอด

                    เทปคําสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล (Transcript) หรือบันทึกการสังเกตวัตถุหรือสิ่งของ การสังเกตสถานการณ์ที่ทํา
                    การวิจัย บันทึกการสังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรมที่ทําการวิจัย เป็นต้น แล้วดําเนินการตามกระบวนการ

                    วิเคราะห์เนื้อหาตามที่ได้นําเสนอไว้ข้างต้น แต่การวิเคราะห์แบบกําหนดทิศทางล่วงหน้านี้ เป็นการกําหนดรหัส
                    หัวข้อเรื่องรอง หัวข้อเรื่องย่อย และหัวข้อเรื่องหลักจากทฤษฎีที่นักวิจัยได้ทําการทบทวนวรรณกรรมเพื่อการ

                    วิจัยในโครงการวิจัยนั้นๆ แล้วจัดทําโครงสร้างของรหัส หัวข้อเรื่องรอง หัวข้อเรื่องย่อยและหัวข้อเรื่องหลักจาก
                    ทฤษฎีขึ้นก่อนเป็นการล่วงหน้า เพื่อใช้เป็นเครื่องมือนําทางในการวิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูลที่เป็นข้อความที่

                    ได้มาจากแหล่งต่างๆ ซึ่งในการวิเคราะห์แบบนี้ นักวิจัยจะอ่านข้อความในข้อมูลที่นํามาทําการวิเคราะห์แล้ว
                    พิจารณากําหนดว่ามี ข้อความใดบ้างที่มีความหมายตรงกับรหัสที่นักวิจัยได้จัดทําขึ้นจากทฤษฎีที่ได้ทบทวน
                    วรรณกรรมมาดังกล่าวข้างต้น เมื่อพบว่ามีข้อความใดที่ตรงกับรหัสที่ได้กําหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว จึงใช้รหัสนั้น

                    เป็นรหัสที่ได้จากข้อมูลที่นํามาทําการวิเคราะห์ ทําเช่นนี้ต่อไปจนหมดข้อความที่นํามาทําการวิเคราะห์ แล้วจึง
                    จัดหมวดหมู่เป็นหัวข้อรองหัวข้อย่อยและหัวข้อหลักตามที่ได้จัดทําไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่ไม่พบว่ามีข้อความใน

                    ข้อมูลที่นํามาใช้ในการวิเคราะห์ตรงกับรหัส หัวข้อรอง หัวข้อย่อย หรือหัวข้อหลักที่ได้กําหนดไว้ล่วงหน้า ก็ให้
                    ตัดออก แต่ในกรณีที่พบว่าจําเป็นต้องจัดทํารหัส หัวข้อรอง หัวข้อย่อย หรือหัวข้อหลักขึ้นมาใหม่ก็สามารถ

                    กระทําได้ ซึ่งผลจากการวิเคราะห์นี้ สามารถนําไปใช้ได้เช่นเดียวกับการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิม

                           การวิเคราะห์เนื้อหาแบบกําหนดทิศทางล่วงหน้าเป็นการวิเคราะห์ที่ใช้ในกรณีที่มีทฤษฎีรองรับอยู่แล้ว

                    และมีความสลับซับซ้อนอยู่บ้างในการกําหนดรหัส หัวข้อรอง หัวข้อย่อย และหัวข้อหลักจากทฤษีทีได้ทบทวน
                    วรรณกรรมไว้แล้ว แต่จะมีความสะดวกในการเลือกรหัส หัวข้อรอง หัวข้อย่อย และหัวข้อหลัก จากทฤษฎีทีได้

                    ทบทวนวรรณกรรมไว้แล้ว การวิเคราะห์แบบนี้จึงเหมาะกับการวิจัยแบบผสมที่ใช้ยุทธศาสตร์การวิจัยแบบการ
                    ทําคู่ขนานแล้วมาบรรจบกัน (Convergent design) (จําเนียร จวงตระกูล และ กัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่,
                    2563: 5-6; Creswell & Plano Clark, 2018; 65-67) และแบบทําตามลําดับเพื่ออธิบายผล (Sequential

                    Explanatory Design) (จําเนียร จวงตระกูล และ กัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่, 2563: 5-6; Creswell &
                    Plano Clark, 2018: 66-68)


                           การวิเคราะห์เนื้อหาแบบสรุปความ (Summative content analysis) การวิเคราะห์เนื้อหาแบบนี้มี
                    ลักษณะที่คล้ายคลึงกับการวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ กล่าวคือเริ่มต้นจากการกําหนดคํา

                    สําคัญและนับจํานวนคําหาความถี่ของคําสําคัญต่างๆ เพื่อตอบคําถามการวิจัยหรืออธิบายข้อค้นพบของการ
                                                        8                      สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20