Page 16 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 16

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                    วิจัย ถ้าการวิเคราะห์สิ้นสุดลงเพียงเท่านี้ จะเป็นการวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ แต่การ

                    วิเคราะห์เนื้อหาแบบสรุปความที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพจะมีการดําเนินการต่อไป โดยพิจารณาถึง
                    ความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ในคําต่างๆ การวิเคราะห์แบบนี้เหมาะสําหรับการวิเคราะห์เนื้อหาของเอกสาร หนังสือ

                    หรือตําราต่างๆ


                           ประเด็นที่ควรพิจารณา คือ ความหมายของคําภาษาอังกฤษที่ว่า “Summative content analysis”
                    ที่เป็นชื่อของแบบหรือแนวทางการวิเคราะห์แบบนี้เมื่อแปลเป็นภาษาไทยแล้ว อาจทําให้เกิดความเข้าใจผิดได้
                    ง่าย เนื่องจากเมื่อแปลเป็นภาษาไทย สามารถแปลว่า การวิเคราะห์เนื้อหาแบบสรุปความ หรือ การวิเคราะห์

                    เนื้อหาแบบสรุปใจความ หรือ การวิเคราะห์เนื้อหาแบบสรุปเนื้อหา เป็นต้น  นักวิจัยที่ไม่ได้ศึกษารายละเอียด
                    ของการวิเคราะห์เนื้อหาแบบนี้ จึงอาจเข้าใจผิดว่าเป็นการวิเคราะห์โดยการสรุปใจความเนื้อหาของเอกสาร

                    ข้อความที่เป็นข้อมูล โดยมิได้ดําเนินการตามกระบวนการวิเคราะห์เนื้อหาตามกระบวนการที่กําหนดไว้ นักวิจัย
                    ใหม่จึงควรศึกษาให้เกิดความเข้าใจให้ถ่องแท้เสียก่อน แล้วจึงพิจารณาว่าวิธีการวิเคราะห์แบบนี้มีความ

                    เหมาะสมกับโครงการวิจัยของตนหรือไม่ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้วิธีการวิเคราะห์แบบนี้ ซึ่งมักจะนิยมใช้ใน
                    การวิจัยเชิงปริมาณมากกว่าการวิจัยเชิงคุณภาพ


                           การเปรียบเทียบวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพทั้งสามแบบ การวิเคราะห์
                    เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพแบบดั้งเดิมและแบบกําหนดทิศทางล่วงหน้า รวมทั้งแบบสรุปความ นั้นมี

                    ลักษณะที่คล้ายกันและแตกต่างกันหลายส่วน ซึ่งสามารถแสดงได้ในตารางที่ 3

                    ตารางที่ 3: การเปรียบเทียบวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพทั้ง 3 ประเภท


                     ประเภทการวิเคราะห์ การเริ่มต้น   เวลาการกําหนดรหัสหรือคํา    แหล่งที่มาของรหัสหรือคํา
                           เนื้อหา        วิเคราะห์            สําคัญ                    สําคัญ
                      แบบดั้งเดิม       การสังเกต   กําหนดรหัสระหว่างการวิเคราะห์  สาระในตัวข้อมูลที่นํามา
                                                                                 วิเคราะห์

                      แบบกําหนดล่วงหน้า  ทฤษฎี      กําหนดรหัสล่วงหน้าและระหว่าง ทฤษฎีหรืองานวิจัยที่
                                                    การ วิเคราะห์                เกี่ยวข้อง
                       แบบสรุปความ      คําสําคัญ   กําหนดคําสําคัญล่วงหน้าและ   ความสนใจของนักวิจัยหรือ
                                                    ระหว่างการวิเคราะห์          การทบทวนวรรณกรรม
                    ที่มา: แปลจาก Hsieh & Shannon, 2005, p. 1286; จําเนียร จวงตระกูล และ นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์,

                    2562:9.
                           จากการเปรียบเทียบในตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่าการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมจะมีวิธีดําเนินการ
                    ตรงกันข้ามกับการวิเคราะห์เนื้อหาแบบกําหนดทิศทางล่วงหน้า กล่าวคือการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิม จะทํา
                    การกําหนดรหัส หัวข้อรอง หัวข้อย่อยและหัวข้อหลัก จากเนื้อหาของข้อความที่เป็นข้อมูลที่นํามาทําการ

                    วิเคราะห์ แต่การวิเคราะห์เนื้อหาแบบกําหนดทิศทางล่วงหน้าจะทําการกําหนดรหัส หัวข้อรอง หัวข้อย่อยและ
                    หัวข้อหลัก จากทฤษฎีที่นักวิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมไว้เป็นการล่วงหน้า แล้วจึงนําข้อความที่เป็นข้อมูลที่จะ

                                                        9                      สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21