Page 17 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 17

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                    นํามาทําการวิเคราะห์เทียบกับ รหัส หัวข้อรอง หัวข้อย่อย และหัวข้อหลัก ที่กําหนดขึ้นล่วงหน้าแล้วกําหนด

                    รหัส หัวข้อรอง หัวข้อย่อย และหัวข้อหลัก ตามที่ได้กําหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว ส่วนการวิเคราะห์เนื้อหาแบบสรุป
                    ความจะมีความคล้ายคลึงกับการวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ แตกต่างเพียงการวิเคราะห์เนื้อหา

                    ในเชิงคุณภาพแบบนี้ มีการดําเนินการวิเคราะห์เชิงคุณภาพต่อจากการวิเคราะห์เนื้อหาแบบเชิงปริมาณจน
                    เสร็จสิ้นกระบวนการ


                                      ทางเลือกใหม่ในการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อการวิจัยเชิงคุณภาพ


                           จากการศึกษาลักษณะเฉพาะของข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบกับวิธีการวิเคราะห์

                    เนื้อหาแบบต่างๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ ทําให้มองเห็นช่องทางที่จะปรับปรุงขั้นตอน
                    และกระบวนการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิม เพื่อลดความซับซ้อนในการกําหนดรหัส (Code) ได้ อันจะทําให้

                    นักวิจัยสามารถวิเคราะห์เนื้อหาได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ในขณะที่ยังสามารถรักษาวิธีการกําหนด หมวดหมู่
                    หรือประเภทของข้อมูลที่เรียกว่าหัวข้อรอง (Category) และหัวข้อย่อย (Sub-category) พร้อมทั้งวิธีการ
                    กําหนดหัวข้อหลัก (Theme) อันเป็นผลของการวิจัยเชิงคุณภาพไว้ตามเดิม ทําให้ยังคงได้รับผลการวิเคราะห์

                    เนื้อหาแบบดั้งเดิม ใกล้เคียงกับวิธีการกําหนดรหัสในกระบวนการเดิมมากที่สุด

                           ด้วยเหตุผลดังกล่าวคณะผู้เขียนจึงได้ดําเนินการปรับปรุงขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์เนื้อหาแบบ

                    ดั้งเดิมจากการกําหนดรหัส (Code) มาเป็นการกําหนดประเด็นสําคัญของเนื้อหา (Main point) แทน โดยระบุ
                    ออกมาเป็นคํา วลี หรือประโยค คล้ายกับรหัส ทําให้นักวิจัยสามารถมุ่งความสนใจไปยังประเด็นที่เป็นส่วนหลัก

                    ของเนื้อหาของข้อมูล โดยไม่ต้องกังวลว่าจะลงรหัสหรือตั้งชื่อของรหัสขึ้นมาใช้แทนความหมายของข้อความ ซึ่ง
                    มักจะต้องใช้เวลานานและเกิดความล่าช้า การกําหนดประเด็นสําคัญจากเนื้อหาของข้อมูลแทนการกําหนดรหัส

                    จะยังคงได้ผลตามวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธีการลงรหัส แต่จะลดความซับซ้อนและลดเวลาที่
                    จะต้องใช้ในการคิดหาชื่อของรหัสที่จะนํามาใช้ วิธีการนี้จะทําให้การวิเคราะห์เนื้อหาทําได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ใน

                    ขณะเดียวกันยังสามารถดําเนินการตามขั้นตอนที่สองและขั้นตอนที่สามได้ต่อไป กล่าวคือ นําเอาประเด็น
                    สําคัญที่กําหนดขึ้นแทนรหัสในขั้นตอนที่หนึ่งอาจเรียกว่าข้อมูลระดับที่หนึ่ง (Main point) ไปดําเนินการใน
                    ขั้นตอนที่สองคือการกําหนดหมวดหมู่หรือประเภทของประเด็นสําคัญ กล่าวคือการนําเอาประเด็นสําคัญที่มี

                    ความหมายคล้ายคลึงกันจัดเข้ากลุ่มไว้ในหมวดหมู่เดียวกันเป็นประเภทของข้อมูลในระดับที่สอง เรียกว่ากลุ่ม
                    ประเด็นสําคัญหรือประเภทของข้อมูล โดยตั้งชื่อประเภทข้อมูลขึ้นมาใหม่ (Category) แล้วนําเอาประเภทของ

                    ข้อมูลหรือกลุ่มประเด็นสําคัญ ที่มีความหมายคล้ายคลึงกันเข้ามาอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน มาตั้งชื่อหมวดหมู่
                    ใหม่เป็นหัวข้อหลัก (Theme) ที่สามารถนําไปเป็นปัจจัยหรือองค์ประกอบ (Factor) ที่จะนําไปสร้างเป็นทฤษฎี

                    หรือแบบจําลองหรืออธิบายและอภิปรายผลการวิจัยต่อไป

                           เพื่ออํานวยความสะดวกแก่นักวิจัย ซึ่งจะทําให้การวิเคราะห์เนื้อหาขั้นที่หนึ่งคือการกําหนดประเด็น

                    สําคัญจากเนื้อหาของข้อมูลที่เป็นข้อความคณะผู้เขียนได้สร้างแบบฟอร์มขึ้นมาใช้ในการกําหนดประเด็นสําคัญ
                    ดังปรากฏในภาพที่ 1

                                                        10                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22