Page 19 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 19

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021


                                   ประเด็นหลัก 3
                                   ————————-----------------------------------------------
                                   ประเด็นย่อย
                                   3.1 ————————------------------------------------------
                                   3.2 ————————------------------------------------------
                                   3.3 ————————------------------------------------------
                                   3.4 ————————------------------------------------------

                                   3.5 ————————------------------------------------------

                    ภาพที่ 1: แบบฟอร์มกําหนดประเด็นสําคัญจากเนื้อหาของข้อมูลที่เป็นข้อความจากข้อมูลรายบุคคล
                    ที่มา: ดัดแปลงจาก จําเนียร จวงตระกูล, 2564: 21


                           จากภาพที่ 1. ซึ่งคัดมาเป็นตัวอย่างเพียงส่วนหนึ่ง จะเห็นว่านักวิจัยสามารถทําการวิเคราะห์เนื้อหา

                    จากข้อมูลที่เป็นข้อความ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลมาจากการถอดเทปบันทึกการสัมภาษณ์ บันทึกการสังเกตวัตถุหรือ
                    สิ่งของหรือการสังเกตสถานการณ์ที่ทําการวิจัย พร้อมคําอธิบายเพื่อให้นักวิจัยสามารถนําไปใช้งานได้
                    โดยสะดวก แบบฟอร์มนี้ใช้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากบุคคล วัตถุหรือสถานการณ์ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูล

                    ขั้นที่หนึ่ง

                           เมื่อได้ทําการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคลตามแบบฟอร์มแรกแล้ว นักวิจัยก็สามรถนําข้อมูลที่ได้

                    วิเคราะห์ในแบบฟอร์มตามขั้นที่หนึ่งทั้งหมด ไปทําการวิเคราะห์ในขั้นที่สองต่อไปโดยใช้แบบฟอร์มที่สอง เพื่อ
                    การกําหนดหมวดหมู่หรือกลุ่มประเด็นสําคัญ โดยการตั้งชื่อกลุ่มขึ้นมาใหม่และถือว่าเป็นข้อมูลระดับที่สองที่ได้

                    จากการวิเคราะห์ ซึ่งเรียกว่าชั้นประเภทของข้อมูล (Category) หรือหัวข้อรอง โดยแบบฟอร์มที่สอง แสดงได้
                    ดังภาพที่ 2


                                              แบบสรุปผลการสัมภาษณ์เชิงลึกรายกลุ่ม
                     ชื่อหน่วยงาน ——————————--------------------------------------------------------------------
                     ประเภทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ---------------------------------------------------------------------------------
                     วันที่ —————————————- เวลาสรุป จาก———---------- ถึง———-----------------
                     ผู้สรุปข้อมูล —————————------- ผู้ตรวจทาน ——————————------------------

                                                           คําชี้แจง
                        1. ข้อมูลที่บรรจุในแบบสรุปผลการสัมภาษณ์เชิงลึกรายกลุ่มนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ผู้สรุปข้อมูลใน
                     ขั้นนี้จะต้องกําหนดประเด็นต่างๆ จากข้อมูลที่ได้ทําการถอดเทป (Transcript) หรือที่ได้บันทึกไว้จากการ
                     สัมภาษณ์เชิงลึกตามที่กําหนดไว้ในแบบแบบสรุปข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลตามขั้นที่ 1 ให้แล้ว
                     เสร็จเสียก่อน
                        2. การสรุปผลการสัมภาษณ์เชิงลึกรายกลุ่มนี้เป็นการนําเอาข้อมูลสรุปประเด็นการสัมภาษณ์รายบุคคล
                     มาใช้ในการจัดทําถือได้ว่าเป็นการจัดทําสรุปประเด็นขั้นที่ 2 จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งจะใช้เป็นฐานใน

                     การจัดทําสรุปข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกข้ามกลุ่ม ซึ่งจะทําให้เห็นภาพสะท้อนจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วน
                     เสียทุกกลุ่มต่อไป
                                                        12                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24