Page 8 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 8

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                         ทางเลือกใหม่ในการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ
                                                                                                   1
                            An Alternative Approach to Content Analysis for Data Analysis
                                                  in Qualitative Research


                                                                       4
                                                                                      5
                                                                                                       6
                                                      3
                                      2
                       จําเนียร จวงตระกูล , กล้าหาญ ณ น่าน , วอนชนก ไชยสุนทร , พิบูลย์ ธาระพุทธิ , สุมณฑา ตันวงศ์วาล ,
                                                                                                        8
                                                                                   7
                                                                         สุเนตร มีนสุข  และ บวรนันท์ ทองกัลยา



                                                          บทคัดย่อ
                                 บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนําเสนอวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลในการ
                    วิจัยเชิงคุณภาพที่ทําการประยุกต์จากวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิง

                    คุณภาพที่ใช้ยุทธศาสตร์การวิจัยแบบการศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีและใช้กับการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิง
                    คุณภาพโดยทั่วไปที่มิได้ใช้ยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงคุณภาพแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ ทั้งนี้เพื่อประยุกต์ให้เข้า
                    กับบริบทของการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพในประเทศไทย โดยทําการดัดแปลงวิธีการและลด

                    ขั้นตอนรวมทั้งลดความสลับซับซ้อนของการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมเพื่อให้มีความกระชับขึ้นเพื่อความ
                    สะดวกในการใช้งานโดยยังคงได้ผลการวิเคราะห์เนื้อหาที่ใกล้เคียงกับการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมมากที่สุด

                    และเพื่อเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของนักวิจัยใหม่หรือนักวิจัยที่เปลี่ยนกระบวนทัศน์จากเดิมมาเริ่มต้นทําการ
                    วิจัยเชิงคุณภาพหรือการวิจัยแบบผสมได้ใช้งานต่อไป สาระสําคัญของบทความนี้ประกอบด้วย (1) บทนํา (2)

                    ลักษณะสําคัญของข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ (3) การวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการ
                    วิจัยเชิงคุณภาพ (4) การวิเคราะห์เนื้อหาที่เป็นทางเลือกใหม่ที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ

                    (5) บทสรุปและเสนอแนะ


                    1  บทความนี้ปรับปรุงจาก จําเนียร จวงตระกูล (2564) การสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม. เอกสารประกอบการประชุมเชิง
                    ปฏิบัติการคณะอนุกรรมการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยงานมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ณ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
                    28-29 มกราคม 2564
                    2  จําเนียร จวงตระกูล, ศาสตราจารย์พิศิษฐ์, ดร.,DBA., Ph.D. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
                    Email: professordrjj@gmail.com
                    3  กล้าหาญ ณ น่าน, รองศาสตราจารย์, ดร., Ph.D. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี Email:
                    hahan_n@rmutt.ac.th
                    4  วอนชนก ไชยสุนทร, รองศาสตราจารย์, ดร., Ph.D. คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
                    ลาดกระบัง Email:  wornchanok.ch@kmitl.ac.th
                    5  พิบูลย์ ธาระพุทธิ, MPA (USA), สถาบันรับรองคุณวุฒิวิชาชีพทรัพยากรบุคคลประเทศไทย Email: piboontha@gmail.com
                     สุมณฑา ตันวงศ์วาล, ดร., Ph.D. บัณฑิตวิทยาลัยการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ Email:
                    6
                    maitrendyhr@gmail.com
                     สุเนตร มีนสุข, ดร., Ph.D. บริษัทอิบิลิตีส์ประเทศไทยจํากัด Email: sunetrmeensuk@gmail.com
                    7
                    8  บวรนันท์ ทองกัลยา, Ph.D. สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย Email: 168dot@gmail.com
                                                        1                      สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13