View : 1,488  ครั้ง

จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ 1

หลักการและเหตุผล

        ตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ในปีคริสต์ศักราช 1945 ฝ่ายสัมพันธมิตรฝั่งยุโรปได้นำ ผู้ที่กระทำความผิดอย่างร้ายแรง หนึ่งในนั้นคือ แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวเยอรมันที่ทำ การทดลองผู้ต้องขังในค่ายกักกัน จนทำให้มีคนบาดเจ็บ เสียชีวิตจำนวนมาก ถือว่าเป็นเหตุการณ์การละเมิดสิทธิ มนุษยชนและศักดิศรีความเป็นมนุษย์อย่างที่สุด เนื่องจากเป็นการทดลองทางการแพทย์กับนักโทษโดยไม่ได้ขอ ความยินยอมแต่อย่างใด ด้วยการให้ยุงกัดบ้างซึ่งมีนักโทษจำนวนมากที่ถูกทดลองกับการรักษาไข้มาลาเลีย หรือ การโยนลงในถังน้ำแข็งบ้าง การฉีดยาต่างๆ โดยไม่สมัครใจ มีการทดลองผ่าตัด การทดลองแก๊สมัสตาร์ด รวมถึง การทดลองทางการแพทย์อื่นๆ ซึ่งสร้างความทรมาณให้แก่ผู้ที่ถูกทดลองอย่างมาก กระบวนการพิจารณาคดีในครั้ง นั้นได้นำผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่ศาลทหารระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นมาพิเศษ ในเมือง นูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ที่เรียกว่า การพิจารณาคดีนูเรมเบิร์ก (Nuremberg trials) ทำให้ในเวลาต่อมานำไป สู่การร่างประมวลกฎหมายนูเรมเบิร์ก หรือ Nuremberg Code (1947) เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตัดสินคดี ทางแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ กฎนูเรมเบิร์กจึงถือว่าเป็นหลักการสากลทางจริยธรรมที่ได้รับการยอมรับเป็น ครั้งแรก
        จากนั้นจึงเริ่มมีการกำหนดจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวกับคนให้มีความชัดเจนมากขึ้น ได้แก่ Declaration of Helsinki (1964) ถูกกำหนดโดยสมัชชาของแพทย์สมาคมโลก หรือ The Belmont report (1979) นำเสนอโดย คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการคุ้มครองอาสาสมัครในการวิจัยทางชีวเวชศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ของประเทศ สหรัฐอเมริกา(The National Commission for the Protection of Human Subjects of Biomedical and Behavioral Research) ถือได้ว่าเป็นหลักการที่มีการใช้อย่างแพร่หลายอย่างมาก เนื่องจากเป็นครั้งแรกของโลกที่ มีการกำหนดหลักการพื้นฐานด้านจริยธรรมการวิจัยในคน ประกอบไปด้วย หลักความเคารพในบุคคล หลักผลประโยชน์ และหลักความยุติธรรม รวมถึง CIOMS Guideline (1993) เป็นแนวทางการวิจัยในคนทางชีว- 2 - เวชศาสตร์ซึ่งต่อมามีการปรับปรุงอยู่หลายครั้งล่าสุดปีคริสต์ศักราช 2016 มีการปรับปรุงและเพิ่มหลักจริยธรรม การวิจัยลงไปมากขึ้นและครอบคลุมมากขึ้น ยังไม่รวมขององค์การระหว่างประเทศ เช่น WHO และ UNESCO ที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ไม่น้อยไปกว่าองค์การต่างๆ แสดงให้เห็นว่าเรื่องจริยธรรมการ วิจัยในมนุษย์นั้น เป็นหลักการสากลที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ การทำงานวิจัยที่เกี่ยวกับคนจึงต้องปฏิบัติตามหลักการ ต่างๆ ที่ได้มีการกำหนดไว้ จึงทำให้รายงานวิจัยนั้นได้รับการยอมรับ
        เห็นได้ว่า จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เป็นหลักการมาตรฐานโลกที่มีมาอย่างช้านาน ถูกพัฒนามาจากการ วิจัยทางการแพทย์หรือทางสาธารณสุข จนมีอิทธิพลเข้ามาเติมเต็มการวิจัยทางสังคมศาสตร์ให้คำนึงถึงหลัก จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย แม้มีการให้ความสำคัญกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มากขึ้นจน ก.พ.อ.กำหนดให้ผู้ขอตำแหน่งวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัย งานวิจัยที่ยื่นให้พิจารณานั้นจะต้อง ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จึงจะสามารถยื่นขอตำแหน่งได้ ทำให้มีความเข้มข้นและเข้มงวดมากขึ้น ยังไม่นับรวมวารสารระดับนานาชาติจำนวนมากกำหนดว่าบทความที่จะส่งให้พิจารณาเพื่อตีพิมพ์ ต้องผ่านการ รับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ก่อน และหลายวารสารก็ปฏิเสธการให้ตีพิมพ์หากไม่ได้มีเลขบงชี้ว่าผ่านการ รับรองจริยธรรมการวิจัยแล้ว นอกจากนี้ในการทำวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ บางครั้งอาจมีการ ทำงานวิจัยที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทำให้เป็นการละเมิด ผู้เข้าร่วมการวิจัยหรืออาสาสมัครที่ร่วมการวิจัยอย่างไม่มีเจตนา
       ด้วยเหตุนี้ การวิจัยในปัจจุบันหากต้องการให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลไม่ใช่เพียงแค่ผลการวิจัยได้สร้าง องค์ความรู้ใหม่ทางวิชาการหรือก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมเท่านั้น แต่การวิจัยนั้นจะต้องผ่านการรับรองจาก คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Institutional Review Board: IRB) โดยผู้วิจัยต้องส่งโครงการวิจัยเพื่อ การพิจารณาทางจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Protocol Synopsis for Ethical Review)ให้คณะกรรมการ จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ทำการพิจารณา และทำการรับรองการจริยธรรมการวิจัย จึงสามารถดำเนินการเก็บ รวบรวมข้อมูลได้ และระหว่างการทำวิจัยจนถึงทำการวิจัยเสร็จสิ้นก็ต้องมีการรายงานต่อคณะกรรมการจริยธรรม การวิจัยในมนุษย์ที่ผู้วิจัยได้ยื่นของการรับรองจึงถือว่าทำถูกต้องตามหลักเกณฑ์มาตรฐานจริยธรรมการวิจัย อย่างไรก็ตามในเมื่อมีการนำหลักจริยธรรมการวิจัยไปสู่การปฏิบัติในทางสังคมศาสตร์อาจมีปัญหา อุปสรรคบาง ประการ การเปิดพื้นที่ให้นักสังคมศาสตร์เข้ามาอบรมน่าที่จะช่วยเป็นเสียงสะท้อนให้มีการปรับการนำหลัก จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาใช้ในทางสังคมศาสตร์มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น
       สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว การเผยแพร่องค์ความรู้ เกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักสังคมศาสตร์มากยิ่งขึ้น ในการที่จะทำให้มีความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการนำหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ไปประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อให้การทำงานวิจัยนั้นมีคุณค่าและเป็นไปตามมาตรฐานสากลยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรให้มีการอบรมเรื่อง “การอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ 1/2565” ขึ้น


วัตถุประสงค์

1) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ให้มีการนำมาใช้อย่างถูกต้องในการวิจัย ทางสังคมศาสตร์มากยิ่งขึ้น
2) เพื่อให้การทำวิจัยทางสังคมศาสตร์คำนึงถึงหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และมีการประยุกต์ใช้ใน การออกแบบการวิจัย
3) เพื่อให้มีการนำหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาใช้ประโยชน์ในการเรียน การสอน การทำการวิจัย ทางสังคมศาสตร์
4) เพื่อฟังเสียงสะท้อนของนักสังคมศาสตร์ที่มีการนำหลักจริยธรรมการวิจัยไปปฏิบัติให้มีการปรับใช้ หลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์อย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับบริบททางสังคมศาสตร์ยิ่งขึ้น
5) เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มีวุฒิบัตรเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการยื่นขอ การรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยวุฒิบัตรมีอายุ 2 ปี หลังจากการอบรม


ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ทางสังคมศาสตร์ คาดว่าจะได้รับประโยชน์ ดังนี้
1. มีความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์กับการประยุกต์ทางด้าน สังคมศาสตร์
2.มีความรู้ ความเข้าใจกระบวนการวิจัยในบุคคลและกลุ่มเปราะบาง การรักษาความลับของอาสาสมัครและ การป้องกันอาสาสมัคร การประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ในของงานวิจัยและอาสาสมัคร
3.มีความรู้ ความเข้าใจ กระบวนการและเกณฑ์การขอความยินยอมจากอาสาสมัคร ข้อควรปฏิบัติของ นักวิจัยหลังผ่านการรับรองจริยธรรม และกระบวนการขอการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
4.สามารถประยุกต์ใช้หลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น 5.ผู้ผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มีวุฒิบัตรเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการยื่นขอการรับรอง จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยวุฒิบัตรมีอายุ 2 ปี ภายหลังจากการอบรม


คุณสมบัติผู้เข้าร่วมการสัมมนา

1. ผู้สนใจทั่วไป ที่มีความสนใจในเรื่องจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ทางด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรม ศาสตร์
2. การบรรยายจะใช้ภาษาทั่วไป จึงไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มาก่อน
3. สามารถเข้าร่วมการสัมมนาได้ต่อเนื่องจำนวน 2 วัน
4. ต้องชำระค่าลงทะเบียนก่อนวันอบรม


ระยะเวลา/ตารางเวลาการฝึกอบรม

ระหว่างวันที่ 26-27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 08.30-16.30 น.

วัน/เวลา รายละเอียด
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565
8.30 - 9.00 น. ลงทะเบียน
9.00 – 9.15 น. พิธีเปิดการอบรมโดยศาสตราจารย์ ดร.อัมพร ธำรงลักษณ์
นายกสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
9.15 – 9.30 น. Pre-Test
9.30 – 10.00 น. วิวัฒนาการและหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
10.00 – 10.30 น. ประเด็นจริยธรรมการวิจัยที่สำคัญต่อการวิจัยด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์
10.30 – 10.40 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.40 – 11.00 น. ประเด็นจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในการวิจัยเชิงคุณภาพ
11.00 – 11.30 น. การวิจัยในบุคคล หรือกลุ่มเปราะบาง
11.30 – 12.00 น. การป้องกันความเป็นส่วนตัวและรักษาความลับ
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 13.30 น. การประเมินคุณประโยชน์และความเสี่ยง
13.30 – 14.30 น. กระบวนการขอความยินยอมจากอาสาสมัคร
14.30 – 14.40 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.40 – 15.30 น. เกณฑ์การขอความยินยอมจากอาสาสมัคร
15.30 – 16.00 น. Workshop16.00 – 16.30 น.
16.00 – 16.30 น. ถาม-ตอบ
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2565
8.30 - 9.00 น. ลงทะเบียน โดยศาสตราจารย์ ดร.อัมพร ธำรงลักษณ์
นายกสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
9.00 – 10.00 น. แนวทางการเขียนโครงร่างการวิจัยและแบบสอบถามเพื่อขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
10.00 – 10.30 น. ความรับผิดชอบของผู้วิจัยหลังผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
10.30 – 10.40 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.40 – 12.00 น. แนวปฏิบัติการวิจัยที่ดีและความประพฤติไม่เหมาะสมในการวิจัย
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 น. Workshop
14.30 – 14.40 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.40 – 15.50 น. Workshop
15.50 – 16.00 น. พิธีปิดการอบรม
16.00 – 16.30 น. Post-Test


สถานที่

ระบบออนไลน์


จำนวนผู้เข้าอบรม

100 คนขึ้นไป


ค่าลงทะเบียน

สำหรับบุคคลทั่วไป 800 บาท (แปดร้อยบาทถ้วน)
สำหรับสมาชิกสมาคมฯ 700 บาท (เจ็ดร้อยบาทถ้วน)
กรุณาชำระโดยการโอนเงินผ่าน บัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์
ชื่อบัญชี บริจาคเพื่อสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์ โดยนายบริบูรณ์ ฉลอง เลขที่บัญชี 678-2-91258-9

การส่งหลักฐานการชำระเงิน(Pay Slip)

Upload ผ่าน Form ลงทะเบียน


หรือ ส่งผ่าน dr.pichate.p@gmail.com ในกรณีที่ส่งภายหลัง
หากต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ดร.พิเชษฐ พิณทอง
ผู้ช่วยเลขาธิการสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
เบอร์มือถือ 097-447-5545

"ผู้เข้ารับการอบรมจะได้วุฒิบัตร เมื่อทำการทดสอบทั้งก่อนและหลังการอบรมและได้คะแนนผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด"

ลงทะเบียน