Page 12 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 12

PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020

                    เป็นสําคัญ เป็นข้อมูลที่สังเกตและบันทึกได้ ข้อมูลประเภทนี้เก็บรวบรวมได้โดยวิธีการสังเกต การสัมภาษณ์ตัว

                    ต่อตัว การสัมภาษณ์กลุ่มและวิธีการอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพนี้ในทางสถิติจะเรียกว่าข้อมูล

                    แยกประเภท (categorical data) เป็นข้อมูลที่สามารถจัดเป็นประเภทได้ตามคุณลักษณะ (attributes) และ
                    คุณสมบัติ (properties) ของสิ่งของ (thing) หรือปรากฏการณ์ (phenomenon) (QuestionPro, 2020)
                           จากคําจํากัดความข้างต้นจะเห็นว่าข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพมีลักษณะเป็นข้อความที่อธิบาย

                    คุณลักษณะของสิ่งของหรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นข้อมูลที่มักจะไม่แสดงเป็นตัวเลขเชิงปริมาณ

                    เป็นข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์ การสังเกต การเข้าร่วม ข้อมูลเอกสารหลักฐานต่างๆ รวมทั้ง
                    โสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้มาจากสื่อสังคมออนไลน์ประเภทต่าง ๆ อีกด้วย


                                การวิเคราะห์ข้อมูลกับการนําเสนอและการแสดงข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ


                           วิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีความสัมพันธ์กับวิธีการนําเสนอและการแสดงข้อมูลในการวิจัย
                    ดังนั้นในส่วนนี้จะนําเสนอวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพโดยสังเขป ในภาพรวมการวิเคราะห์ข้อมูล

                    ในการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นจะมีวิธีการดําเนินการสามขั้นตอนคือ (1) การวิเคราะห์เนื้อหาพื้นฐาน (content

                    analysis process) (2) การวิเคราะห์เนื้อหาตามรูปแบบวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis
                    approaches) และ (3) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพตามยุทธศาสตร์การวิจัย (qualitative analysis of

                    each research strategy) ดังจะได้อธิบายโดยสังเขปดังต่อไปนี้

                    การวิเคราะห์เนื้อหาพื้นฐาน

                           การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจะใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ซึ่ง “เป็นการ
                    วิเคราะห์ตัวเนื้อหาของสารหรือข้อความที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารกันซึ่งอาจจะปรากฏในรูปแบบต่าง ๆ โดยเป็น

                    การลดทอนปริมาณข้อมูลจากขนาดใหญ่ลงมาเป็นหน่วยของความหมายที่มีขนาดเล็ก เป็นการวิเคราะห์ที่ไม่ใช้
                    ตัวเลขหรือสถิติ โดยทั่วไปแล้วกระบวนการวิเคราะห์ประกอบด้วย การลงรหัส (Coding) และการกําหนด

                    หัวข้อหลัก (Themes) หรือแบบแผน (Patterns)” (จําเนียร จวงตระกูล และ นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์, 2562,
                    หน้า 4) โดยมีส่วนสําคัญประกอบด้วย การย่อ (Condensation) รหัส (Coding) หัวข้อเรื่องรอง (Category)

                    และ หัวข้อเรื่องหลัก (Theme) ดังแสดงในตารางที่ 1












                                                        3                      สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17