Page 15 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 15

PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020

                    (phenomenological study) แบบการศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎี (grounded theory) แบบการศึกษา

                    วัฒนธรรม (ethnographical study) และแบบกรณีศึกษา (case study) ซึ่งแต่ละยุทธศาสตร์การวิจัย

                    นอกจากจะต้องใช้กระบวนการและวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นยังจะต้องดําเนินการ
                    วิเคราะห์เพิ่มขึ้นโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นแบบเฉพาะของแต่ละยุทธศาสตร์ เช่น ในการวิเคราะห์
                    ข้อมูลตามแบบศึกษาปรากฏการณ์ (phenomenological study) อาจเลือกใช้วิธีการของ Giorgi  (1985)

                    หรือ Moustakas (1994) ในการดําเนินการ เป็นต้น

                           ดังนั้นในการนําเสนอและการแสดงข้อมูลจึง จําเป็นต้องพิจารณาความแตกต่างของวิธีการวิเคราะห์
                    ข้อมูลตามแบบเฉพาะของแต่ละยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงคุณภาพที่นักวิจัยเลือกใช้ประกอบด้วย
                                      รูปแบบการนําเสนอและการแสดงข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ



                           จากการศึกษาของ Verdinelli & Scagnoli (2013) พบว่ามีรูปแบบการนําเสนอและการแสดงข้อมูล
                    การวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้กันอยู่ทั่วไป 9 รูปแบบ ดังตารางที่ 3


                    ตารางที่ 3: รูปแบบการนําเสนอและการแสดงข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ 9 รูปแบบ
                     รูปแบบการแสดงข้อมูล             วัตถุประสงค์

                     แบบกล่อง                        เน้นข้อความที่เฉพาะเจาะจงที่พิจารณาเห็นว่าสําคัญโดยนําบรรจุ
                     (boxed display)                 เข้าไว้ในกล่อง

                     แบบจําลองต้นไม้การตัดสินใจ      เพื่ออธิบายความเห็น การตัดสินใจ และการกระทํา
                     (decision tree modeling)

                     แบบผังการไหลของงาน (flow chart)  เพื่อแสดงทิศทางของการไหลและแสดงเส้นทางเดินของกลุ่มต่างๆ

                     แบบขั้นบันได (ladder)           เพื่อเป็นตัวแทนมิติต่าง ๆ ของความก้าวหน้าของปรากฏการณ์
                                                     บางอย่างในช่วงเวลาหรือแสดงระดับหรือขั้นตอน

                     แบบแมทริกซ์ (matrix)            เพื่อเชื่อมมิติต่าง ๆ ตั้งแต่สองมิติขึ้นไป หรือตัวแปร หรือแนวคิด
                                                     ของประเด็นที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นที่สนใจ

                     แบบเปรียบเทียบ (metaphorical    เพื่อเสนอโดยเปรียบเทียบให้เห็นทางของประเด็นหรือหัวข้อเรื่อง
                     visual display)                 หลักที่ค้นพบ

                     แบบปรับปรุงไดอะแกรมของเว็น      เพื่อระบุด้านหรือแนวคิดหรือประเภทข้อมูลหรือกระบวนการ
                     (modified Venn diagram)         ร่วมกันหรือเหลื่อมกัน

                     แบบเครือข่าย (network)          เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างหัวข้อเรื่องหลักกับหัวข้อเรื่องหรือ
                                                     ประเภทข้อมูลหลักหรือประเภทข้อมูลรอง

                     แบบแบ่งชั้น (taxonomy)          เพื่อจําแนกหรือจัดระเบียบข้อมูล

                    ที่มา: Verdinelli & Scagnoli, 2013, p. 364.


                                                        6                      สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20