Page 14 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 14

PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020

                    ที่มีทฤษฎีที่สามารถใช้เป็นฐานในการกําหนดรหัสล่วงหน้าได้ (Elo & Kyngas, 2008; Hsieh & Shannon,

                    2005; Zhang & Wildemuth, 2009) เช่น ในกรณีที่นักวิจัยทําการวิจัยแบบผสมโดยใช้ยุทธศาสตร์การวิจัย

                    แบบผสมแบบทําตามลําดับเพื่ออธิบายผล (sequential explanatory) (Creswell, 2009; Creswell &
                    Plano Clark, 2018; Terrell, 2012) ซึ่งนักวิจัยดําเนินการวิจัยแบบเชิงปริมาณก่อนตามด้วยการวิจัยเชิง
                    คุณภาพและนําเอาผลของการวิจัยเชิงคุณภาพมาอธิบายผลของการวิจัยเชิงปริมาณ นักวิจัยสามารถนําทฤษฎี

                    ที่ได้ทบทวนวรรณกรรมไว้แล้วมาใช้เป็นฐานในการกําหนดรหัสเพื่อวิเคระห์ข้อมูลตามกระบวนการของการ

                    วิเคราะห์เนื้อหาแบบนี้ได้ ส่วนการวิเคราะห์เนื้อหาแบบสรุปความ นั้นจะเริ่มต้นด้วยการกําหนดคําสําคํญแล้ว
                    นําไปสู่การกําหนดรหัสตามกระบวนการของวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบนี้ต่อไป (Hsieh & Shannon, 2005;
                    Nang, Monahan, Diehl, & French, 2015) สาระสําคัญของการวิเคราะห์เนื้อหาทั้งสามแบบสามารถสรุป

                    เปรียบเทียบได้ดังตารางที่ 2


                    ตารางที่ 2: เปรียบเทียบกระบวนการวิเคราะห์เนื้อหาสามแบบ
                     ประเภทการวิเคราะห์ การเริ่มต้น   เวลาการกําหนดรหัสหรือคํา    แหล่งที่มาของรหัสหรือคํา

                           เนื้อหา        วิเคราะห์            สําคัญ                    สําคัญ
                     แบบดั้งเดิม        การสังเกต   กําหนดรหัสระหว่างการวิเคราะห์  สารในตัวข้อมูลที่นํามา

                                                                                 วิเคราะห์
                      แบบกําหนดล่วงหน้า  ทฤษฎี      กําหนดรหัสล่วงหน้าและระหว่าง ทฤษฎีหรืองานวิจัยที่

                                                    การวิเคราะห์                 เกี่ยวข้อง
                      แบบสรุปความ       คําสําคัญ   กําหนดคําสําคัญล่วงหน้าและ   ความสนใจของนักวิจัยหรือ

                                                    ระหว่างการวิเคราะห์          การทบทวนวรรณกรรม

                    ที่มา: แปลจาก Hsieh & Shannon, 2005, p. 1286; (จําเนียร จวงตระกูล และ นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์,
                    2562, หน้า 9.)

                           จากตารางที่ 2 จะเห็นว่าในการวิเคราะห์เนื้อหาทั้งสามแบบนี้มีวิธีการและกระบวนการในการ
                    ดําเนินการที่แตกต่างกันแต่การวิเคระห์เนื้อหาทุกแบบจะมีการกําหนดรหัส เพื่อนําไปสู่การกําหนดประเภท

                    หรือกลุ่มของรหัสอันถือได้ว่าเป็นหัวข้อเรื่อง ซึ่งเป็นส่วนประกอบของหัวข้อเรื่องหลักที่ถือว่าเป็นผลของการ
                    วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ


                    การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพตามยุทธศาสตร์การวิจัยของการวิจัยเชิงคุณภาพ

                           การวิจัยเชิงคุณภาพมียุทธศาสตร์การวิจัยหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการออกแบบการวิจัย (จําเนียร
                    จวงตระกูล, 2560) รวมทั้งกระบวนทัศน์การวิจัยที่นักวิจัยเลือกใช้นําทางการวิจัย (Creswell, 2013) แต่ในที่นี้

                    จะแบ่งกลุ่มยุทธศาสตร์การวิจัยออกเป็น 5 กลุ่มตามแนวทางของ Creswell (2013) ได้แก่ ยุทธศาสตร์
                    การวิจัยแบบชีวประวัติหรือการบรรยาย (biography or narrative study) แบบศึกษาปรากฏการณ์



                                                        5                      สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19